รายละเอียด
การเลือกเครื่องชั่งที่เหมาะสมกับงาน
เครื่องชั่ง(Scale) คือ เครื่องมือที่ใช้วัดปริมาณน้ำหนักของวัตถุ ซี่งมีหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับประโยชน์การใช้งาน และมีความสำคัญกับอาชีพหลายอาชีพเป็นอย่างมาก เช่น ค้าขาย ใช้ในการทดลอง ใช้ในโรงงาน ใช้ในครัวเรือน ฯลฯ ที่นี้จะกล่าวถึง เลือกเครื่องชั่งอย่างไรถึงจะได้เครื่องชั่งที่ที่คุ่มค่าและถูกต้องกับงานที่ใช้ เราจะต้องทราบถึงวัตถุประสงค์ ว่าเราจะนำไปใช้ชั่งอะไร น้ำหนักที่ชั่งไม่เกินเท่าไรและค่าอ่านละเอียดของเครื่องชั่งเท่าไหร่ สิ่งของหรือสินค้าที่จะใช้ชั่งมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ประเภทงานเป็นแบบไหน จำนวนเยอะแค่ไหนจะต้องใช้ เครื่องชั่งแบบวางพื้น หรือเครื่องชั่งตั้งโต๊ะ หรือ แบบเครื่องชั่งแขวน
ควรศึกษาที่มาหรือแหล่งผลิต ว่าสินค้านำเข้าหรือผลิตในประเทศ ถ้าสินค้าผลิตในประเทศจะมีเพียงไม่กี่ยี้ห้อเท่านั้น ส่วนมากจะเป็นสินค้านำเข้ามากกว่า มีทั้งจากUSA ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวันและจีน ซึ่งในส่วนของนำเข้าจากจีนเองก็มีมากมายหลายเกรด แล้วแต่ลูกค้าเลือกใช้งาน
ควรศึกษาฟังก์ชั่นการใช้งาน เครื่องชั่งแต่ละตัวก็จะมีฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป การเลือกฟังก์ชั่นของเครื่องชั่งควรจะเหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าจริงๆ ไม่ควรรีบซื้อเพราะช่วงลดราคาหรือโปรโมชั่น แล้วใช้งานแบบอื่นๆไม่ได้นอกจากชั่งน้ำหนักได้อย่างเดียว เช่น การหักน้ำหนัก ชั่งนับแบบจำนวน การต่อเข้ากับอุปกรณ์เสริม การคำนวณราคา เป็นต้น
ควรศึกษาโครงสร้างและอุปกรณ์เครื่องชั่ง ลูกค้าควรคำนึงถึงสภาวะแวดล้อมที่จะใช้เครื่องชั่งและลักษณะการชั่ง ทั้งนี้เพื่ออายุการใช้งานที่นานขึ้น โดยเช็คส่วนประกอบเครื่องชั่ง ดังนี้
- จอแสดงน้ำหนัก พลาสติกabs หรือสแตนเลส กันฝุ่นหรือไม่ กันน้ำหรือไม่
- แบตเตอรี่เปลี่ยนยังไง หาซื้อเปลี่ยนใหม่ได้ง่ายไหม
- แท่นชั่งโครงสร้างเหล็กแข็งแรงหรือไม่ จุดเชื่อม ความหนาของแท่นชั่ง โหลดเซลล์ เกรดดีหรือเกรดต่ำ(ส่วนใหญ่ไม่บอก) กันชื้นได้ระดับใหน
บริการหลังการขาย เป็นสิ่งสำคัญมาก เราจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษา ตรวจเช็คค่าน้ำหนัก อย่างสม่ำเสมอ สอบเทียบเครื่องชั่ง หรือตรวจรับรองเครื่องชั่ง ทั้งนี้เพราะมันเป็นเครื่องมือที่มีผลต่อกำไร-ขาดทุน ผู้ขายต้องมีความรู้ และมีความชำนาญสามารถให้คำปรึกษาเราได้เพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น มีบริการซ่อม ติดตั้ง ย้าย หรือดัดแปลง เครื่องชั่ง และบริการจัดหาอะไหล่อย่างรวดเร็ว และต้องดูแลและเข้าใจลูกค้าเป็นอย่างดีว่างานลูกค้าหยุดไม่ได้ ต้องรีบแก้ไขให้รวดเร็วทันที เป็นต้น
เครื่องชั่งทุกตัวควรได้รับมาตรฐาน จะต้องผ่านการตรวจรับรองจากกองชั่งตวงวัด กรมการค้าภายในกระทรวงพาณิชย์
เครื่องชั่งน้ำหนัก เป็นเครื่องมือที่ใช้บอกน้ำหนักสิ่งของ เครื่องชั่งมีหลายชนิด ซึ่งมีความเหมาะสมแตกต่างกันไป
กับน้ำหนักสิ่งของที่จะชั่ง ดังนั้น จำต้องเลือกเครื่องชั่งให้เหมาะสมกับสิ่งของที่จะชั่งดังนั้น จึงต้องเลือกเครื่องชั่งให้เหมาะสมกับสิ่งของที่จะชั่งการชั่ง เป็นการหาน้ำหนักของสิ่งของต่างๆ โดยใช้เครื่องชั่งต่างๆกันซึ่งเครื่องชั่งแต่ละชนิดนั้น ก็ควรเลือกใช้ตามความเหมาะสมกับชนิดของสิ่งของที่จะชั่ง ดังนั้นเครื่องชั่งแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไรและจะใช้ฝนโอกาสใดบ้าง
หน่วยที่ใช้ในการชั่ง คือ กิโลกรัม(กก.) และกรัม(ก.) ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้ในการบอกน้ำหนัก
การเลือกเครื่องชั่งให้เหมาะสมกับสิ่งของที่จะชั่ง
– เครื่องชั่งยา ใช้ชั่งยาสมุนไพร แร่ธาตุขนาดเล็ก สารเคมี
– เครื่องชั่งสปริง ใช้ชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มาก เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์
– เครื่องชั่งน้ำหนักคน ใช้ชั่งน้ำหนักตัว
– เครื่องชั่งแบบตุ้มเลื่อน ใช้ชั่งสิ่งของที่มีน้ำหนักมากๆ เช่น ข้าวสาร หรือน้ำตาลทราย เป็นกระสอบ
– เครื่องชั่งแขวน ใช้สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป สินค้าประมง
– เครื่องชั่งดิจิตอลแบบตั้งโต๊ะ ใช้สำหรับทั่วไปตั้งแต่ 500กรัม ถึง 30กิโลกรัม
– เครื่องชั่งดิจิตอลแบบวางพื้น เครื่องชั่งขนาดใหญ่ตั้งแต่ 30กิโลกรัม ถึง 20,000กิโลกรัม
– เครื่องชั่งคำนวณราคา ใช้คำนวณราคาสินค้าอัติโนมัติ
– เครื่องชั่งนับจำนวน ใช้สำหรับดูน้ำหนัก และนับชิ้นงาน
– เครื่องชั่งวิเคราะห์ ใช้สำหรับห้องแล็บ พิกัดตั้งแต่ 50 กรัม ถึง 400กรัม
– เครื่องชั่งกันน้ำ ใช้ชั่งสินค้าสำหรับพื้นที่เปียกชื้น เช่น ห้องเย็น
– เครื่องชั่งสัตว์ ใช้สำหรับชั่งสิ่งมีชีวิต ที่มีการเคลื่อนไหว เช่น สุกร วัว ม้า
– เครื่องชั่งรถบรรทุก ใช้สำหรับชั่ง รถกะบะ รถบรรทุก 6ล้อ 10ล้อ หรือรถพ่วง มีที่น้ำหนักมาก
การชั่งและการอ่านน้ำหนักจากเครื่องชั่ง
ก่อนชั่งสิ่งของบนเครื่องชั่งต้องชี้ไปที่ตัวเลข 0 เสมอ เมื่อวางสิ่งของที่จะชั่งแล้ว เข็มจะเคลื่อนที่ไปยังตัวเลข
ที่เท่ากับน้ำหนักของสิ่งของนั้น เช่น ถ้าเข็มชี้ไปที่เลข 2 แสดงว่าของสิ่งนั้นมีน้ำหนัก 2 กิโลกรัม
กิโลกรัม กรัม ขีด
กิโลกรัม กรัม และขีด เป็นหน่วยที่ใช้บอกน้ำหนักในการชั่ง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันดังนี้
น้ำหนัก 1 กิโลกรัม เท่ากับ 1,000 กรัม
น้ำหนัก 1 ขีด เท่ากับ 100 กรัม
น้ำหนัก 10 ขีด เท่ากับ 1 กิโลกรัม